วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ลอฟท์มาแรง ผู้รับเหมา ต้องเข้าใจให้ชัดก่อนรับงานสไตล์นี้

ลอฟท์มาแรง ผู้รับเหมา ต้องเข้าใจให้ชัดก่อนรับงานสไตล์นี้

ลอฟท์ หรือ เขียนภาษาอังกฤษว่า Loft เวลาพูดถึงคำนี้ ปัจจุบันเราเข้าใจกันดีว่าเป็นชื่อเรียกแนวการตกแต่งบ้านแบบหนึ่ง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้รับเหมา ที่ต้องทำงาน รับเหมาก่อสร้าง ควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจมันให้มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่ชอบบ้านในแนวนี้ และต้องขอบอกเพิ่มอีกนิดว่า ลอฟท์ ไม่ได้หมายถึงบ้าน ปูนเปลือย อย่างเดียว ! ดังที่มีบางท่านเข้าใจ !!!


ก่อนอื่นเราอยากจะพา ผู้รับเหมา และท่านที่สนใจมาทำความรู้จักกับการตกแต่ง Loft กันเสียก่อน สำหรับ ผู้รับเหมา ที่พึ่งเริ่มหันมาสนใจงานการสร้างบ้านแนวนี้ บ้านสไตล์ลอฟท์ เชื่อว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงที่ภาวะทางเศรษฐกิจทั่วโลกซบเซา มีโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเมืองเป็นจำนวนมากถูกทิ้งร้าง และมีการเคลื่อนออกไปตั้งโรงงานใหม่ในเขตนอกเมืองที่ใกล้ออกไป ใน New York ก็เช่นกัน มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากถูกทิ้งร้าง โดยเฉพาะในย่าน โซโห อาคารเก่าที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้แหละที่กลายมาเป็นต้นกำเนิดของบ้านสไตล์ลอฟท์ ! เนื่องจากมีศิลปินจำนวนหนึ่ง ต้องการทั้งที่พัก และสตูดิโอในการทำงาน และต้องการที่พักราคาถูก สำหรับในลอนดอนในยุคที่เงินฝืดเคืองนั้น การหาบ้านที่ตอบสนองความต้องการของศิลปินใน ราคาที่เขาพอจ่ายได้เป็นเรื่องยาก โรงงานที่ถูกปล่อยร้างในย่าน โซโห จึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะมันมีพื้นที่เพียงพอในการที่จะใช้พักอาศัย เป็นที่ทำงานและในเวลาเดียวกันก็ยังแสดงงานศิลปะของพวกเขาได้อีกด้วย !

ศิลปินจำนวนหนึ่งจึงเลือกที่จะไปอาศัยอยู่ในโรงงานเก่าเหล่านั้น และเริ่มตกแต่งปรับปรุงเพื่อให้มันเป็นที่อยู่อาศัย... จากจุดนี้เองทำให้เกิดการตกแต่งบ้านที่เป็นแบบ Loft ขึ้น เนื่องจากตัวอาคารเดิมที่มีส่วนประกอบแบบดิบๆ ผนังปูนไม่ทาสี ผนังที่เป็นอิฐก่อไม่ได้ฉาบ การเผื่อให้เห็นโครงสร้างเหล็กและไม้ รวมถึงท่อที่เดินตามผนัง เมื่อถูกจัดแต่งเพิ่มเติมให้ดูดีด้วยจินตนาการของศิลปินทำให้มันกลายเป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยที่น่าสนใจ และนี่เองเป็นจุดกำเนิดที่มาของบ้านยอดนิยมในปัจจุบันนี้ ! ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการทำงาน รับเหมาก่อสร้าง บ้านแบบลอฟท์ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นแค่บ้านแนวปูนเปลือยเท่านั้น !!!!


หัวใจของบ้านสไตล์ลอฟท์ ที่ ผู้รับเหมา ควรทราบก็คือ มันมาจากโรงงานเก่า ซึ่งไม่พิถีพิถันในเรื่องการตกแต่งให้เรียบร้อยหรือหรูหรา เผื่อความดิบและเสน่ห์ของวัสดุเดิม ไม่ว่าจะเป็นปูน เหล็ก ไม้ ให้โชว์เนื้อแท้ของมันออกมา สภาพภายในเน้นความโปร่งแบบโรงงานในยุคหลังสงครามโลก หากต้องการรับงาน รับเหมาก่อสร้าง ในแนวนี้ ผู้รับเหมาอาจจะหาแรงบันดาลใจก่อนเริ่มลงมือทำงาน หรือหาข้อมูลเอาไว้ล่วงหน้าได้จากการหาดูภาพโรงงานในอเมริกาในยุคเก่าๆ ก็จะทำให้สามารถตีโจทย์บ้านลอฟท์ออกมาได้ในแบบที่เป็นของแท้มากยิ่งขึ้น ! 

ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา อันดับ 1 

ปัญหาผนังปูนเปลือยบ้าน loft แตกร้าว ผู้รับเหมา ต้องหาทางป้องกัน

ปัญหาผนังปูนเปลือยบ้าน loft แตกร้าว ผู้รับเหมา ต้องหาทางป้องกัน

Loft หรือ ลอฟท์ เป็นสไตล์การตกแต่งบ้านที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ และส่วนมากนิยมที่จะเลือกทำผนังปูนให้เป็นแบบปูนเปลือย คือ ฉาบขัดมันแต่ไม่มีการทาสี จนหลายคนคิดไปแล้วว่า Loft ก็คือ ปูนเปลือย ! แม้ว่าจะมีผนังอยู่หลายแบบที่อยู่ในการแต่งบ้านสไตล์นี้ แต่หากเทียบความนิยม ดูเหมือนไม่มีแบบไหนเทียบปูนเปลือยได้ แต่... ผนังแบบปูนเปลือยเป็นผนังที่ดูแลไม่ง่ายเลย หากจัดการไม่ดีปัญหาตามมาเพียบ ! ดังนั้น ผู้รับเหมา ที่รับก่อสร้างบ้านแบบนี้ควรหาวิธีป้องกันปัญหา และศึกษาวิธีการแก้ไขเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อจัดการปัญหาให้กับเจ้าของบ้าน...


 ปัญหาที่พบในบ้านที่ใช้ผนังแบบปูนเปลือย มีหลายประการ เช่น... ปัญหาเรื่องความชื้นที่สามารถแทรกซึมเข้ามาสู่ภายในตัวบ้านได้ง่าย ปัญหาการแตกร้าวของผนังปูนเปลือย ซึ่งเรื่องนี้บอกได้เลยว่า... เป็นปัญหาระดับคลาสสิก ! คือ ทำหลังไหนเจอหลังนั้น ! เป็นกันจนกลายเป็นเรื่องผิดปกติที่เป็นธรรมดา ! จนบางคนบอกว่า นี่แหละคือ... ความงามตามธรรมชาติ ! ซึ่งหากมองในแง่หนึ่งก็ใช่ แต่... รอยแตกร้าวนั้นมันนำมาซึ่งปัญหานานาประการด้วย ! ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำและความชื้นที่เข้ามาในตัวบ้านได้มากขึ้น จนทำให้ภายในบ้านมีปัญหาเรื่องเชื้อราซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและข้าวของภายในบ้าน ปัญหาเรื่องแมลง โดยเฉพาะปลวกเข้ามาในบ้าน (องค์ประกอบครบ ! ทั้งความชื้น และเส้นทางที่พามันแอบหลบซ่อนเข้ามาในบ้านได้ง่ายโดยไม่เจอแสง หรือ... แม้แต่ปัญหาเรื่องผิวปูนมีรอยด่างเนื่องจากสารเคลือบผิวหลุดร่อนจากความชื้นภายในทำให้ผนังไม่น่าดู ดังนั้น... ผู้รับเหมา จำเป็นที่จะต้องหาวิธีการป้องกันและแก้ไขเตรียมเอาไว้เพื่อให้เจ้าของบ้านที่ว่าจ้างให้มาทำงาน รับเหมาก่อสร้าง ได้อยู่อย่างมีความสุข

วิธีการป้องกันปัญหาที่ ผู้รับเหมา สามารถใช้รับมือกับผนังปูนเปลือย เช่น

1. พิจารณาเลือกช่างฝีมือในด้านงานปูนให้มาเป็นคนลงมือทำงาน เรื่องนี้เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ปัญหาผนังปูนเปลือยแตกร้าวอย่างรวดเร็วส่วนมาเกิดจากเรื่องทักษะของช่างที่ทำเป็นส่วนใหญ่ !!! ซึ่งอาจจะพลาดในเรื่องอัตราส่วนผสมเนื้อปูนฉาบ การใส่ผงปูนโรยหน้ามากเกินไป หรือแม้แต่วิธีการขั้นตอนในการฉาบไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม ดังนั้น ผู้รับเหมา ควรเริ่มจากเรื่องคนก่อนเป็นอันดับแรก

2. พิจารณาสภาพความชื้นในอากาศ ในช่วงที่อากาศร้อนหรือแห้งจัด ความชื้นในปูนฉาบจะระเหยเร็วมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแตกร้าวอย่างรวดเร็ว ผู้รับเหมา จำเป็นที่จะต้องพยายามควบคุมระดับความชื้นให้ผนัง เพื่อลดความเสี่ยงในการแตกร้าวของผนังปูนด้วย อาจเป็นการบังแดดพรางแสง หรืออื่นๆ

3. พิจารณาเสริมลวดกรงไก่เข้าไปในผนัง นี่เป็นอีกวิธีที่สามารถช่วยลดปัญหาการแตกร้าวของผนังปูนเปลือยได้ เนื่องจาก ลวดกรงไก่จะช่วยเพื่อการยึดเกาะของเนื้อปูน ทำให้แตกร้าวได้ยากมากขึ้น

4. พิจารณาเพิ่มชั้นปูนฉาบ อันี้เหมาะใช้ในตอนแก้ไขปัญหาแตกร้าวที่พึ่งเริ่มเกิดขึ้น ใช้วิธีฉาบทับปูนฉาบเดิมที่เราทำความสะอาดแล้วและทาน้ำยาป้องกันการซึมของน้ำหรือ Primer ลงไป และฉาบทับด้วย Skim Coat

5. พิจารณาเสริมการป้องกันผนังด้วยน้ำยาป้องกันการดูดซึมน้ำ หรือ เรียกว่า Water Repellent เป็นสารที่สามารถป้องกันเรื่องความชื้น และสิ่งสกปรก ไม่ให้ซึมผ่านเข้าไปในเนื้อผิวของปูน อันเป็นสาเหตุทำให้ผนังมีสีดำๆ ด่างๆ ไม่สวยได้

นี่เป็นวิธีป้องกันและจัดการกับปัญหาของผนังปูนเปลือยของบ้านสไตล์ Loft ที่ ผู้รับเหมา ควรทราบและหาวิธีป้องกัน เอาไว้แต่เนิ่นๆ และเป็นเรื่องที่ควรศึกษาเทคนิคในการทำงานเรื่องนี้เพิ่มเติม เพราะบ้านสไตล์ Loft เป็นเทรนด์ที่กำลังมาในปัจจุบันนี้

เจ้าของบ้านอยากถมที่ให้สูงกว่าเพื่อนบ้าน ผู้รับเหมา จะทำอย่างไร

เจ้าของบ้านอยากถมที่ให้สูงกว่าเพื่อนบ้าน ผู้รับเหมา จะทำอย่างไร

การถมดินก่อนการก่อสร้างเป็นเรื่องปกติทั่วไป ถือเป็นขั้นตอนแรก ที่ ผู้รับเหมา จะต้องดำเนินการ เพื่อการปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมกับการก่อสร้าง แต่ปัญหาหนึ่งที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ ก็คือ เวลาที่จะมีบ้านใหม่มาปลูกสร้างสักหลัง เขามักนิยมขนเอาดินมาถมเสียให้สูงกว่าบ้านข้างเคียงเสมอ ! บางทีถมจนสูงแบบที่แค่ยืนบนที่ดินของบ้านใหม่ก็สูงเกือบเท่าตัวคนเมื่อไปยืนอยู่ในดินใกล้เคียง ! ซึ่งเรื่องดูเหมือนจะเป็นความนิยมของเจ้าของบ้านไปเสียแล้ว แต่เรื่องนี้ทำได้ไหม และเหมาะสมหรือไม่ ? เป็นอีกเรื่องที่ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ควรให้ข้อมูลและคำแนะนำกับเจ้าของบ้าย เพราะ... หากผิดพลาดขึ้นมามีโทษตามกฎหมาย และอาจถูกสั่งให้ระงับขั้นตอนนั้นในการก่อสร้างได้ !!!


 สิ่งที่ ผู้รับเหมา ควรทำเมื่อเจ้าของบ้านต้องการที่จะถมที่ดินให้บ้านมีความสูงมากกว่าเพื่อบ้าน คือ...

1. แจ้งให้เจ้าของบ้านทราบ หรือตระหนักถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งเรื่องของการถมดิน มีตราอยู่ใน พ.ร.บ. การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 และนอกจากนี้ยังมีเรื่องของ เทศบัญญัติ การผังเมือง และกฎหมายควบคุมอื่นๆ หากจะถมดินให้มีความสูงมากกว่าที่ผืนข้างเคียงมากๆ อันนี้ต้องช่วยกันศึกษาให้รอบคอบก่อนว่าทำได้หรือไม่ อย่าเห็นว่ามันเป็นการดำเนินการในที่ของเราจะถมดินเพิ่มให้สูงอย่างไรก็ได้ อันนี้อาจมีความผิด

2. ต้องมีการสร้างระบบป้องกันปัญหาน้ำจากที่ดินที่ถมไหลไปหาที่ดินข้างเคียง เรื่องนี้มีความสำคัญเช่นกัน เพราะมีกำหนดอยู่ใน มาตรา 26 อย่างชัดเจน ว่า หาก “จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น...” นั่นหมายความว่า หากที่ดินที่เราจะสร้างบ้านใหม่ มีเนื้อที่ไม่เกิน 2,000 ตรารงเมตร และต้องการถมดินให้สูงกว่าพื้นที่ข้างเคียง สิ่งที่เราต้องทำก็คือ การสร้างระบบป้องกันไม่ให้น้ำจากที่ดินของเราไหลไปที่ดินข้างเคียง ซึ่งก็คือ การทำทางระบายน้ำให้เพียงพอไม่ให้เกิดการไหลไปของน้ำได้

3. ต่อจากข้อสอง เรื่องนี้ในกรณีมีเนื้อที่มากกว่า 2,000 ตารางเมตร เจ้าของบ้านจะต้องทำการแจ้งเรื่องการถมดินให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้ทราบเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ และต้องทำระบบป้องกันน้ำไม่ให้ไหลไปที่ดินข้างเคียงด้วยเช่นกัน รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดินไหลเข้าไปในเขตที่ดินข้างเคียง หรือความเสียหายของกำแพงของเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้นได้จากการถมดินและบดอัด

4. แนะนำให้เจ้าของบ้านไปพูดคุยกับเจ้าของบ้านหรือเจ้าของที่ข้างเคียง เพื่อทำความเข้าใจกันเสียก่อน เนื่องจากในกรณีที่ข้างบ้านเห็นแล้วเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจ หรือเกรงว่าจะเกิดความเสียหายไม่ว่าจะเรื่องน้ำไหลเข้ามา หรือกำแพงอาจจะพังเพราะการถมดินเพื่อก่อสร้าง เขาสามารถนำเรื่องไปร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ได้ ! และ... ตามกฎหมายเขามีสิทธิที่จะ “ร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้” !!! นั่นหมายความว่า งานก่อสร้างเกิดการหยุดชะงักแน่นอน งานนี้เดือดร้อนไปตามๆ กันทั้งเจ้าของบ้านและ ผู้รับเหมาก่อสร้าง

ดังนั้น ก่อนที่จะทำการถมที่ดิน หากว่าเจ้าของบ้านมีความต้องการที่จะถมดินให้สูงกว่าพื้นที่ข้างเคียง ผู้รับเหมา จะต้องทำความเข้าใจและชี้ให้เห็นถึงปัญหาและเรื่องที่ควรทำให้ครบถ้วน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ซึ่งหากเรื่องเตลิดไปจนถึงข้อ 4 ดังข้างต้นแล้ว งานก่อสร้างต้องหยุด และอาจจะมีการเรียกร้องค่าเสียหายตามมา ! ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในเรื่องนี้ได้เลย !! 


ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา

หลังถมดินแล้ว ผู้รับเหมา ควรเริ่มการก่อสร้างเมื่อใด

หลังถมดินแล้ว ผู้รับเหมา ควรเริ่มการก่อสร้างเมื่อใด


การถมดินเป็นขั้นตอนแรกๆ ในการทำงานก่อสร้างที่ ผู้รับเหมา จะต้องดำเนินการ เพื่อให้พื้นที่มีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างอาคารลงไปบนที่ดินผืนนั้น แต่หลังจากที่ถมดินแล้ว ใช่ว่าจะสามารถก่อสร้างได้ทันทีเสียทุกครั้ง ยังมีขั้นตอนที่ต้องพิจารณาก่อนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่จะทำการก่อสร้าง เรื่องนี้ไม่อาจชะล่าใจ เพราะหากไม่ระวังให้ดี อาจเกิดปัญหาหนักหนาถึงกับบ้านเกิดอาการทรุดและแตกร้าวเสียหายได้ !


 การถมดินมีขั้นตอนหลายขั้น ซึ่งเราได้เคยนำมาเล่าไปแล้วในตอน “ขั้นตอนการถมและปรับที่ ” แต่นอกเหนือจากการที่เราต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าวไปแล้ว ยังมีเรื่องการพิจารณาอีกว่า ผู้รับเหมา ควรเริ่มลงมือก่อสร้างบ้าน หรือ อาคารเมื่อใดหลังจากการถมดินผ่านไปแล้ว ??

สำหรับเรื่องนี้ ผู้รับเหมา จะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน เช่น

1. ลักษณะของดิน เนื่องจากดินแต่ละชนิดแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไป ซึ่งเรื่องนี้มีผลในเรื่องระยะเวลาการรอให้ดินยุบตัวและเหมาะสมในการการก่อสร้าง

2. สภาพของพื้นที่แต่เดิมก่อนการถมดิน เช่น หากเป็นพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำขัง มีความชื้นสะสมอยู่ด้านล่าง ก็อาจจะต้องมีการเสริมความแข็งแรงของรากฐานเพื่อให้เกิดความมั่นคงกับอาคารที่สร้างขึ้นเหนือที่ดินผืนนั้นๆ

3. รูปแบบของฐานรากของอาคาร เรื่องนี้ก็มีผลในการตัดสินใจว่าจะเริ่มก่อสร้างบ้านเมื่อใดหลังจากถมดินเสร็จ ซึ่งรูปแบบของฐานรากก็จะมีอยู่สองแบบด้วยกัน ได้แก่ แบบฐานรากแผ่ คือ การก่อสร้างลงบนตอม่อหรือคานดินเลย วิธีนี้ทำได้เฉพาะในเขตที่มีดินเป็นดินแข็ง เช่น ภาคเหนือ และภาคอีสาน ที่มีดินแข็งมาก แต่การก่อสร้างแบบนี้ควรรอให้ดินเกิดการยุบตัวลงอย่างเต็มที่เสียก่อน ไม่ควรทำทันทีหลังจากถมดินใหม่ และแบบที่สองก็คือ แบบฐานรากที่มีเสาเข็ม เป็นการเสริมเสาเข็มลงไปในพื้นดิน ไม่ว่าจะด้วยการใช้เข็มตอก หรือเข็มเจาะ เพื่อให้เสาเข็มช่วยในการรับน้ำหนักของบ้านเอาไว้ การทำฐานรากแบบนี้สามารถสร้างบ้านได้เลยไม่จำเป็นต้องรอ

4. การเสริมความแข็งแรงของรากฐาน ในที่นี้ก็คือ การตอกเสาเข็ม ในกรณีที่พื้นดินเป็นดินเหนียว หรือดินที่ไม่แน่น อย่างเช่นในเขต กทม. จำเป็นที่จะต้องเสริมความแข้งแรงให้กับฐานรากด้วยการเพิ่มเสาเข็มลงไปก่อนจึงจะก่อสร้างได้ ข้อดีของการเสริมความแข็งแรงนี้ช่วยให้ ผู้รับเหมา สามารถเริ่มงานการก่อสร้างได้เร็ว ไม่ต้องกังวลหรือรอเรื่องความแน่นของดิน ที่ต้องใช้ระยะเวลานาน เพราะเสาเข็มทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของอาคารที่ก่อสร้างเอาไว้แล้ว

นี่เป็นหลักที่ ผู้รับเหมา สามารถใช้ในการพิจารณาว่าควรสร้างบ้านหรือสร้างอาคารเมื่อใดหลังจากถมที่เสร็จแล้ว ซึ่งก็ควรทำให้ถูกต้อง เพื่อให้บ้านหรืออาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นมีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เกิดการแตกร้าว หรือ เกิดการทรุดตัวในภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเจ้าของบ้าน และผู้รับเหมาเองยังมีส่วนต้องรับผิดชอบ แถมเสียชื่อเสียงอีกต่างหาก !!


ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา 

สิ่งที่ ผู้รับเหมา ต้องพิจารณาก่อนสั่งให้เริ่มงานถมดิน

สิ่งที่ ผู้รับเหมา ต้องพิจารณาก่อนสั่งให้เริ่มงานถมดิน

ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร สิ่งแรกๆ ที่ ผู้รับเหมา จะต้องดำเนินการก่อนก็คือ เรื่องขั้นตอนของการปรับและเตรียมพื้นที่ ซึ่งขั้นนี้มักเริ่มจากการถมดินเป็นส่วนใหญ่ เพราะพื้นที่ๆ เป็นที่เปล่าส่วนมากจะกลายเป็นที่ลุ่มต่ำกว่าพื้นที่รอบข้างที่มีการก่อสร้างบ้านไปแล้ว หรือแม้แต่ถนน ซึ่งจะมีการถมดินเพิ่มเติมเสมอ ดังนั้นเพื่อไม่ให้บ้านที่จะสร้างต่ำจนกลายเป็นที่รับน้ำกลายเป็นแอ่งเวลาฝนตก ก็จำเป็นต้องถมที่ดินก่อนการปลูกสร้างอาคาร และยังเป็นการปรับพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ด้วย แต่ก่อนที่จะถมดิน ผู้รับเหมาก่อสร้าง มีเรื่องจำเป็นจะต้องนำมาพิจารณา !


 สิ่งที่ ผู้รับเหมา ต้องพิจารณาก่อนสั่งให้เริ่มงานถมดิน

1. ระดับความสูงของดินที่จะถม เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่จะต้องพิจารณา เนื่องจากเป็นตัวที่จะต้องใช้ในการคำนวณปริมาณดินที่จะต้องนำเข้ามาถมในพื้นที่ ว่าต้องใช้ดินปริมาณเท่าไหร่ โดยจะต้องดูจากระดับความสูงของถนน ซึ่งควรถมที่ให้สูงกว่า ความสูงของพื้นของบ้านใกล้เคียงที่เราไม่ควรทำให้สูงกว่ามากนักเพื่อจะได้ไม่ก่อปัญหาเรื่องน้ำจากบ้านที่เราสร้างไหลไปบ้านของเพื่อนบ้านทำให้เกิดความขัดแย้งในอนาคต ระดับของทางระบายน้ำ ที่ต้องมีระดับความสูงพอให้น้ำไหลออกไปได้อย่างสะดวก

2. ชนิดของดินและการเซ็ทตัวของดินเมื่อถมและบดอัดไปแล้ว เนื่องจากเมื่อเราถมดินทิ้งไว้ดินจะเกิดการยุบตัวลงตามธรรมชาติ จะต้องหาระดับที่เหมาะสมและมีการถมเผื่อไว้เล็กน้อยในปริมาณที่ทำให้เราได้ระดับที่เซ็ทตัวลงพอดีกับความต้องการ

3. ค่าใช้จ่ายในการถมดิน เรื่องนี้มีหลายสิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณา เพราะไม่ได้มีแค่เพียงราคาของดินเท่านั้น ยังมีเรื่องของการ ปรับพื้นที่ก่อนการถม การขนย้ายและกำจัดวัชพืชกิ่งไม้ และหินก้อนใหญ่ออกไปจากพื้นที่ รวมถึงเรื่องของการตรวจวัดระดับซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้วย ดังนั้น ผู้รับเหมา จะต้องทำการคำนวณและพิจารณาให้ดี เพื่อให้ได้ราคาออกมาตรงตามงบประมาณ หรือได้ราคาที่เหมาะสมที่สุด

4. ระยะเวลาในการดำเนินการ เรื่องนี้เกี่ยวถึงกำหนดการในการทำงาน รับเหมาก่อสร้าง การถมดินเป็นขั้นแรกก่อนการดำเนินการอย่างอื่น หากล่าช้าก็จะพลอยกระทบกับกำหนดการอื่นๆ ไปด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้การถมดินมีความล่าช้าก็เกิดได้จากอุปสรรคหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนดินในบางช่วง การขาดผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบและวัดพื้นที่ รวมไปถึงเรื่องของการจัดการปรับพื้นที่ก่อนการถมดิน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาและวางกำหนดการให้เหมาะสม เพื่อให้งานการก่อสร้างดำเนินไปตามที่กำหนดไว้

เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ ผู้รับเหมา จำเป็นที่จะต้องให้ความสนใจเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์และเป็นไปตามกำหนดการในการทำงาน การถมดินไม่ใช่แค่เรียก สั่งให้เอาดินมาถมๆ แล้วเกลี่ยหน้า บดอัดก็จบ มีหลายสิ่งที่ต้องพิจารณาและต้องทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้วย ไม่เช่นนั้น อาจส่งผลเสียในระยะยาวกับอาคารที่จะก่อสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจได้รับความเสียหายเกิดการแตกร้าว หรือทรุดตัวตามมาได้ !


ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา 

งาน renovate บ้าน ต้องขออนุญาตหรือไม่ ผู้รับเหมา ควรรู้

งาน renovate บ้าน ต้องขออนุญาตหรือไม่ ผู้รับเหมา ควรรู้


การทำงาน รับเหมาก่อสร้าง บางครั้งนอกจากการสร้างสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารใหม่แล้ว ผู้รับเหมา ยังอาจจะต้องทำงานเกี่ยวกับการดัดแปลงปรับปรุงอาคารเดิมให้เปลี่ยนเป็นรูปโฉมใหม่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Renovate แต่ก่อนที่จะเริ่มลงมือ ผู้รับเหมา จะต้องดูให้ดีเสียก่อนว่างานที่กำลังจะทำนั้น จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้บางที่อาจจะต้องทำความเข้าใจกับเจ้าของบ้านด้วย เพราะบางคนไม่ทราบและคิดว่า... “นี่บ้านของฉัน จะทำอะไรก็ไม่น่าจะมีปัญหา !” ซึ่งบางครั้งมันทำให้เกิดความผิดขึ้นได้ !!!


การ Renovate บ้านต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้งหรือไม่ !?

เรื่องนี้เป็นเรื่องคาอกคาใจอยู่พอสมควรทั้งฝ่าย ผู้รับเหมา และเจ้าของบ้าน ที่กำลังอยู่ในช่วงจะทำงานดัดแปลง หรือ Renovate บ้านอยู่ สำหรับเรื่องนี้ ต้องชี้แจงว่า ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนการทำการต่อเติมดัดแปลงบ้านเสมอไป มีบางกรณีที่ไม่จำเป็นต้องแจ้งก็สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องอยู่ตามข้อกำหนดของกฎหมาย

ซึ่งข้อกำหนดของกฎหมายที่จำเป็นจะต้องทำการแจ้งขออนุญาตก่อนลงมือทำการ Renovate บ้าน มีระบุเอาไว้ใน พ.ร.บ.การสร้างบ้าน เรียกว่า การดัดแปลง ซึ่งการดำเนินการเกี่ยวกับการดัดแปลงหมายถึง การ ลด เพิ่ม เปลี่ยนแปลง ขยาย เปลี่ยนสัดส่วน น้ำหนัก หรือ กระทำอื่นใดให้บ้านเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งเรื่องเหล่านี้เข้าข่ายการดัดแปลงทั้งสิ้น แต่หากจะถามว่าจำเป็นต้องแจ้งทุกครั้งทุกกรณีหรือไม่ ก็ไม่ถึงขนาดนั้น

การดัดแปลงที่จำเป็นจะต้องขออนุญาต จะต้องเป็นการดำเนินการ เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงที่มีพื้นที่มากกว่า 5 ตารางเมตรขึ้นไป และจะต้องมีการปรับเปลี่ยนขนาด หรือจำนวนของ เสา คาน หรือส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างและความแข็งแรง จึงจะต้องทำเรื่องแจ้งเพื่อขออนุญาตในการดัดแปลง หรือ Renovate อาคารก่อนจะลงมือก่อสร้างดัดแปลงได้

หากสรุปง่ายๆ ให้เห็นเป็นงานชัดๆ ก็อาจจะยกตัวอย่างได้ว่า งานที่ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนทำการดัดแปลง เช่น การเปลี่ยนประตู หน้าต่าง หลังคา ฝ้าเพดาน พื้น หรือผนังของบ้าน เหล่านี้สามารถกระทำได้ แต่... มีข้อแม้ว่าจะต้องไม่มีผงทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเกินกว่า 10% จากน้ำหนักเดิม ! หากมีน้ำหนักมากกว่านี้ จะต้องขออนุญาต เนื่องจากเป็นได้ว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร จะต้องทำเรื่องเพื่อขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อนทำการก่อสร้างดัดแปลง

การขออนุญาตเพื่อทำการ renovate ทำได้โดยการ ยืนแบบแปลนสิ่งก่อสร้างที่ต้องการดัดแปลง ซึ่งแบบแปลนจะต้องมีการเซ็นรับรองโดย วิศวกร สถาปนิก และ ผู้รับเหมา ให้ครบถ้วน เพื่อเป็นการยืนยันเรื่องแบในการก่อสร้างว่าจะทำออกมาตามที่แจ้งขอจริง

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่บ่อยครั้งเจ้าของบ้านจะไม่ทราบและทำพลาด ผู้รับเหมา ควรให้ความช่วยเหลือ เพื่อที่งานที่รับมาจะได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นถูกต้อง และไม่มีใครต้องเสี่ยงต่อการรับโทษจากการทำผิดกฎหมายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และ... ที่สำคัญที่สุดก็คือ เพื่อความปลอดภัยของตัวเจ้าของบ้านผู้อยู่อาศัยเองด้วย


ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา 

สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตอน พระบิดาแห่งมาตรฐานช่างไทย

สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตอน พระบิดาแห่งมาตรฐานช่างไทย


ในห้วงแห่งความโศกเศร้าของปวงชนชาวไทย เนื่องมาจากการสูญเสียผู้เป็นที่รักและเคารพยิ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ นอกเหนือจากการทำใจและร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแล้ว เรายังควรระลึกถึงพระกรณียกิจอันทรงคุณค่าของพระองค์ เพื่อยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต... และหนึ่งในพระราชกรณียกิจที่พระองค์ท่านได้ทรงงานอันเหลือคณานับ งานช่าง ก็เป็นด้านหนึ่งที่ทราบกันดีว่า พระองค์ได้รับการขนานพระราชสมัญญาว่า... “พระบิดาแห่งมาตรฐานช่างไทย


 พระอัจฉริยะภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านงานช่าง ได้เริ่มมาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ทรงโปรดที่จะประดิษฐ์ของเล่น และสร้างสิ่งต่างๆ ด้วยพระองค์เอง เช่น มีความในหนังสือ “เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์” พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีข้อความว่า “ทรงโปรดงานทางช่างและงานศิลปะมาแต่ทรงพระเยาว์...

และแม้ต่อมา เมื่อได้ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีพระราชภารกิจมากมาย แต่ก็ยังทรงแบ่งเวลามาทรงงานช่าง และทรงเป็นต้นแบบของผู้ที่ทำงานช่างทั้งมวล จนได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่งมาตรฐานช่างไทย” และมีวันที่รำลึกถึงพระราชกรณียกิจในด้านนี้ในวันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งเป็น วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งเป็นวันที่ระลึกที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับงานช่าง เนื่องในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดงาน แนะแนวอาชีพ และแข่งขันฝีมือแห่งชาติครั้งที่ 1 ณ ลุมพินีสถาน มีความตอนหนึ่งที่ใคร่ขออัญเชิญมาดังนี้...

"ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของคนทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่างๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่างจึงสมควรได้รับความเอาใจใส่ สนับสนุนจากทุกๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน วิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิงใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ

ประการแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ

ประการที่สอง ได้แก่ ปัญหาเรื่องฝีมือซึ่งต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริงๆ

ประการที่สาม ได้แก่ ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย

การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้จะต้องการทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไรสำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า ข้าพเจ้าใคร่ขอฝากความคิดทั้งนี้ไว้เป็นแนวปฏิบัติของท่านทั้งหลายต่อไป...."


ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com  

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รื้อถอนบ้านก่อนปลูกสร้างไม่ขออนุญาต ผู้รับเหมา ต้องระวัง

รื้อถอนบ้านก่อนปลูกสร้างไม่ขออนุญาต ผู้รับเหมา ต้องระวัง

ในการทำงาน รับเหมาก่อสร้าง นอกจาก ผู้รับเหมา จะต้องทำหน้าที่ในการปลูกสร้างอาคารให้ได้ตามกำหนดที่ตกลงเอาไว้กับเจ้าของผู้ว่าจ้างแล้ว ก่อนที่จะเริ่มงานได้ บางทีอาจจะต้องมีงานส่วนอื่นที่ต้องดำเนินการก่อนที่จะสามารถเริ่มงานการก่อสร้างได้ ซึ่งงานส่วนนั้นก็คือ งานการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิม ภายในบริเวณที่จะมีการก่อสร้างใหม่ ซึ่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องปกติ เพราะหากไม่ทำการรื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมย่อมไม่สามารถปลูกอาคารใหม่ได้ แต่... ก่อนที่จะดำเนินการรื้อถอน ผู้รับเหมา จะต้องทราบก่อนว่า เจ้าของบ้าน หรือผู้ว่าจ้างเขาได้ดำเนินการแจ้งขออนุญาตรื้อถอนอย่างถูกต้องแล้วหรือยัง !?


 มีหลายครั้งที่งานในส่วนนี้กลายเป็นความผิด และถูกดำเนินคดี ! ซึ่งเรื่องนี้ผิดพลั้งประการใด ผู้รับเหมา อาจโดนหางเลขตามไปด้วย ! เพราะเป็นผู้รับจ้างในการกระทำความผิด !

การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างภายในที่ดินของเจ้าของเอง เป็นความผิดด้วยหรือ !? เรื่องนี้อาจเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับหลายๆ คน ทั้งที่เป็นเจ้าของบ้านและ ผู้รับเหมา เรื่องนี้บอกได้เลยว่า... หากกระทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากทางราชการ มีความผิด ! และ ซึ่งอัตราโทษในข้อหานี้ มีทั้ง จำและปรับ !! ซึ่งเรื่องนี้มีข้อบัญญัติเอาไว้ใน มาตรา 65 ของ พรบ.ควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2535 ระบุว่า ผู้ทำการรื้อถอนอาคารโดยไม่รับอนุญาต จะมีความผิด ถูกปรับไม่เกิน 60,000 บาท ! หรือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน !!!

เป็นโทษที่ถือว่ารุนแรง และไม่คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ยังมีผู้ที่เข้าข่ายกระทำความผิด และส่วนมากเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือไม่ทราบในข้อกฎหมาย จึงไม่ได้ทำการแจ้งให้ถูกต้อง ซึ่งในการแจ้งไม่ได้เป็นเรื่องยากเย็นแต่ประการใด ซึ่งเรื่องนี้ ผู้รับเหมา ควรศึกษาและนำไปให้คำแนะนำกับเจ้าของบ้าน หรือ ผู้ว่าจ้าง ในกรณีที่จะต้องทำการรื้อถอนก่อนเริ่มการก่อสร้างใหม่

เอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาตเพื่อทำการรื้อถอนอาคาร คือ

1. แบบแปลนของอาคารที่จะรื้อ ประกอบด้วยรายละเอียดแบบแปลนทุกชั้น รูปด้านข้างทั้งสองด้าน ภาพตัดขวาง และรายละเอียดวัสดุที่ใช้สร้างอาคาร วิธีการรื้อถอน ที่ทำมาไม่เกิน 45 วัน
2. แบบคำร้องที่ต้องกรอก คือ แบบ ข.1
3. บัตรประชาชน
4. ทะเบียนบ้านแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน
5. หนังสือยินยอม ในกรณีไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
6. สำเนาโฉนด

ส่วนระยะเวลาในการพิจารณาคำขอนี้ก็ใช้เวลาราว 2 สัปดาห์ ค่าธรรมเนียมในการแจ้งก็คิดเพียงค่าใบคำร้อง จำนวน 20 บาท เท่านั้น ในกรณีรื้อถอนจะไม่คิดค่าการตรวจแบบ ซึ่งจะเห็นว่า เสียค่าใช้จ่ายน้อยและใช้เวลาไม่นาน (ในเรื่องค่าใช้จ่าย เจ้าของบ้านอาจจะต้องเพิ่มในส่วนจ้างคนเขียนแบบประกอบคำร้อง ซึ่งก็อยู่ในหลักพัน) ดังนั้น ควรดำเนินการให้ถูกต้องเรียบร้อย และ ผู้รับเหมา ควรมีการสอบถาม ก่อนการเริ่มงานด้วยว่าเจ้าของบ้านได้ทำการขออนุญาตและดำเนินการอย่างถูกต้องแล้วหรือไม่ หากยัง ก็ขอให้ช่วยให้คำแนะนำกับเจ้าของบ้าน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง... 


ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา 

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การจัดจ้างโดยวิธีพิเศษเป็นอย่างไร ผู้รับเหมา ที่อยากรับงานรัฐควรรู้

การจัดจ้างโดยวิธีพิเศษเป็นอย่างไร ผู้รับเหมา ที่อยากรับงานรัฐควรรู้
สำหรับ ผู้รับเหมา ที่มีความสนใจการทำงานให้กับหน่วยงานรัฐ นอกเหนือจากต้องทำความเข้าใจในเรื่องของการ ประกวดราคา และราคากลาง แล้ว ยังมีอีกเรื่องที่น่าสนใจที่ควรทราบและทำความเข้าใจ นั่นก็คือ เรื่องของการ จัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ซึ่งเรื่องนี้มีลักษณะที่แตกต่างไปจากการว่าจ้างให้ทำงานของรัฐโดยทั่วไป...


 การจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ จะเกิดขึ้นได้ จะต้องเข้าเขื่อนไขตามข้อกำหนดในระเบียบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 23 - 24 และข้อ 57 – 58 ซึ่งจะต้องเป็นการว่าจ้างให้ดำเนินการที่มีมูลค่าเกิน 100,000 บาท และจะต้องเข้าเงื่อนไขเหตุผลข้อใดข้อหนึ่งใน 6 ข้อ ดังนี้...

1. เป็นงานที่ต้องจ้างช่างฝีมือโดยเฉพาะทาง หรือต้องเป็นผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องนั้นๆ จึงจะสามารถดำเนินการได้

2. เป็นงานจ้างซ่อมที่จำเป็นต้องถอดตรวจ ให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อน จึงจะประมาณค่าซ่อมได้

3. เป็นงานที่เร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายขึ้นกับทางราชการ

4. เป็นงานที่ต้องปกปิด เป็นความลับของทางราชการ

5. เป็นงานที่จำเป็นต้องการจ้างเพิ่ม ในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ และจำเป็นต้องจ้างเพิ่ม

6. เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี

ต้องเข้าเงื่อนไขเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่งจึงจะสามารถจัดจ้างโดยวิธีการพิเศษได้ ทั้งในเรื่องเงื่อนไขและราคา หากไม่เข้าก็จะเป็นการดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีการทั่วไป

สำหรับการดำเนินการนั้น จะมีอยู่ด้วยกันหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ เพื่อให้ได้ ผู้รับเหมา หรือช่างมาดำเนินการให้ ซึ่งก็คือ

แบบที่ 1 เป็นลักษณะที่หน่วยงานรัฐติดต่อเชิญผู้มีอาชีพและเชื่อได้ว่ามีความสามารถในการดำเนินการโดยตรง เพื่อให้เข้ามาทำการตกลงเสนอและต่อรองราคาเพื่อรับงานจากหน่วยงานของรัฐ

แบบที่ 2 เป็นลักษณะที่หน่วยงานของรัฐติดต่อกับผู้รับเหมา หรือ ผู้รับจ้างรายเดิม ที่ดำเนินการอยู่แล้ว ให้รับงานเพิ่ม โดยมีอัตราราคาคงเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีกว่าสำหรับรัฐ

แบบที่ 3 เป็นการที่หน่วยงานรัฐทำการสืบราคาจากผู้รับเหมา หรือ ผู้รับจ้าง มืออาชีพรายอื่น เพื่อเปรียบเทียบกับผู้เสนอราคาเดิม

ส่วนในเรื่องของขั้นตอนการดำเนินการในการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ จะเริ่มจาก.... เมื่อเกิดกรณีจำเป็นและพิจารณาแล้วว่าเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่จะสามารถจัดจ้างโดยวิธีพิเศษได้ เจ้าหน้าที่พัสดุ จะต้องทำหนังสือขออนุญาตหัวหน้าส่วนราชการ เพื่ออนุมัติให้ดำเนินการ และต้องขอเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ เพื่อดำเนินการในส่วนนี้ ซึ่งคณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาว่าเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ และให้ความเห็นว่าสมควรใช้วิธีการใด จากนั้นทำการติดต่อกับผู้รับเหมา หรือ ผู้รับจ้าง เมื่อได้รับราคาข้อเสนอและเอกสารครบถ้วนแล้ว ให้ทำรายงานพร้อมความเห็นรวมถึงเอกสารทั้งหมด ส่งผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อนำเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาและสั่งการอีกครั้ง

นี่เป็นเรื่องของการจัดจ้างโดยวิธีการพิเศษ ซึ่ง ผู้รับเหมา ที่มีความสนใจอยากรับงานจากหน่วยงานของรัฐควรทำความเข้าใจ และศึกษา เพื่อที่จะได้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา

ขั้นตอนการประกวดราคา ผู้รับเหมา ที่อยากรับงานรัฐควรรู้

ขั้นตอนการประกวดราคา ผู้รับเหมา ที่อยากรับงานรัฐควรรู้

การรับทำงาน รับเหมาก่อสร้าง ให้กับหน่วยงานของรัฐ จะมีระเบียบที่ ผู้รับเหมา จะต้องดำเนินการอยู่หลายส่วน ซึ่งบางครั้ง ผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่เป็นรายใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ ก็จะเกิดความสับสนอยู่บ้างเพราะระเบียบของหน่วยงานรัฐมีอยู่หลายแบบหลายข้อกำหนด แต่เรื่องที่ต้องทำแน่นอน เมื่อต้องการเสนอตัวทำงานให้กับหน่วยงานภาครัฐ นั่นก็คือ... การเข้าร่วมการ “ประกวดราคา” เพื่อรับเหมาก่อสร้าง ดังนั้น ผู้รับเหมา ที่ต้องการรับงานรัฐจะต้องศึกษาเรื่องนี้ให้เข้าใจ


และสิ่งที่ ผู้รับเหมา ควรทราบและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประกวดราคาก็คือ เรื่องของ ขั้นตอนในการประกวดราคา ของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 10 ขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้...

1. เจ้าหน้าที่พัสดุต้องทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามที่กำหนดไว้ใน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 27 และเสนอขอแต่งตั้งคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา , คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/คณะกรรมการตรวจการจ้าง รวมมีคณะกรรมการที่ต้องเสนอขอแต่งตั้ง 3 ชุด

2. หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ความเห็นชอบตามระเบียบฯ และลงนามในประกาศประกวดราคา

3. เจ้าหน้าที่พัสดุทำการเผยแพร่แจ้งข่าว ประกาศการประกวดราคา ก่อนวันรับซองประกวดราคาอย่างน้อย 20 วัน และหากเป็นการใช้วิธีประกวดราคาต้องประกาศก่อนไม่น้อยกว่า 45 วัน

4. คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา เมื่อได้รับและเปิดซองแล้วจะต้องส่งใบเสนอราคา และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งหมด พร้อมบันทึกรายงานการดำเนินการให้กับคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ให้เสร็จสิ้นในวันเดียวกัน

5. คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ทำการพิจารณาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ในกรณีไม่มีผู้มีคุณสมบัติของผู้เสนอราคาตามระเบียบ หรือ มีผู้เสนอรายเดียว หรือ ไม่มีผู้เสนอราคาถูกต้อง จะต้องทำการยกเลิกการประกวดราคา และดำเนินการคัดเลือกใหม่ หรือ ดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ แล้วแต่กรณีว่าวิธีการใดเหมาะสม

6. ในกรณีพิจาณาแล้วเสร็จ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ต้องทำการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

7. เมื่อหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาแล้ว เห็นควรก็จะทำการอนุมัติ เจ้าหน้าที่จะทำการแจ้งให้ ผู้รับเหมา มาทำสัญญา รับเหมาก่อสร้าง

8. หลังจากทำสัญญาแล้ว ผู้รับเหมา มีหน้าที่ดำเนินการตามที่ตกลงและภายในเวลาที่กำหนด

9. จะมีการตรวจสอบและรับมอบงานเป็นช่วงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาโดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือการจ้างงานก่อสร้าง เมื่อตรวจสอบแล้วถูกต้อง คณะกรรมการจะต้องรายงานให้หัวหน้าหน่วยราชการทราบโดยผ่านทางหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุ

10. เจ้าหน้าที่พัสดุรวบรวมหลักฐาน ซึ่งจะประกอบด้วยสัญญาซื้อ จ้าง หรือใบสั่งซื้อ ใบส่งของ ใบส่งงานจ้าง และใบตรวจรับพัสดุ ตรวจสอบการจ้างส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมา ที่เป็นผู้รับจ้างต่อไป

นี่เป็นขั้นตอนทั้งหมดในกระบวนการประกวดราคาและการดำเนินการหลังจากนั้นจนแล้วเสร็จถึงขั้นตอนการเบิกรับเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ ผู้รับเหมา ควรทราบและควรทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง เมื่อต้องการเสนอตัวทำงานให้กับหน่วยงานภาครัฐ


ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา 

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ราคากลาง คืออะไร ทำไมต้องมี ผู้รับเหมา ที่อยากรับงานรัฐควรรู้

ราคากลาง คืออะไร ทำไมต้องมี ผู้รับเหมา ที่อยากรับงานรัฐควรรู้

การทำงาน รับเหมาก่อสร้าง มีงานรูปแบบหนึ่งที่ ผู้รับเหมา จำนวนมาก ได้มีโอกาสได้เข้าไปรับทำงานให้กับหน่วยงานของทางราชการ ข้อดีของการทำงานให้หน่วยงานภาครัฐก็คือ มีความมั่นคง และเชื่อมั่นได้ในเรื่องค่าตอบแทนที่จะได้รับ ความเสี่ยงในเรื่องที่จะได้เงินงวดไม่ตรง เงินขาดจนต้องหยุดงาน มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย และยังสามารถวางแผนการทำงานล่วงหน้าได้อย่างสะดวก เนื่องจากมีกำหนดที่ค่อนข้างแน่นอน ดังนั้น จึงมี ผู้รับเหมาก่อสร้าง หลายๆ คน ให้ความสนใจในการรับทำงานก่อสร้างให้กับทางราชการ... และหากว่า ผู้รับเหมา ท่านใดสนใจงานทำนองนี้ อย่างแรกที่ควรทำก็คือ การศึกษาหาความรู้ในเรื่องระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีระบบระเบียบกำหนดไว้หลายประการ และหนึ่งในเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับการได้หรือไม่ได้งานก็คือเรื่องของ... ราคา ! ซึ่งทางรัฐจะกำหนดสิ่งที่เรียกว่า “ราคากลาง” ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้รับเหมาต้องทำความเข้าใจเสียก่อน....


ราคากลาง คือ... ราคาที่หน่วยงานภาครัฐได้ทำรายละเอียดราคามาตรฐานที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงในการก่อสร้าง โดยอาศัยการสืบหาและจากข้อมูลที่มีของหน่วยงานภาครัฐ ใช้สำหรับเป็นฐานในการเปรียบเทียบราคา ที่ ผู้รับเหมา จะทำการยื่นเสนอ ซึ่งราคาที่ ผู้รับเหมาก่อสร้าง จะยื่นไม่จำเป็นต้องเท่ากับราคากลางก็ได้ เพราะราคากลางนั้นเป็นราคาเพื่อใช้เป็นฐานในการเปรียบเทียบ หรือ เป็นหลักในการคำนวณเท่านั้น สามารถเสนอราคาที่แท้จริงได้ตามความพร้อมและความสามารถในการบริหารจัดการของตนเอง แต่ส่วนจะได้งานหรือไม่ก็ดูที่ความเหมาะสมจากการเลือกของหน่วยงานรัฐที่เป็นผู้ว่าจ้างนั้นๆ

เหตุผลที่ต้องมีราคากลาง ก็เพื่อความสะดวกในการพิจารณาเลือกจัดจ้างผู้รับเหมาที่เหมาะสมที่สุดมาทำการก่อสร้างให้กับหน่วยงานของรัฐ และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถตรวจสอบและจัดทำงบประมาณได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง

ในการจัดทำราคากลาง หน่วยงานรัฐจะมีการระบุรายละเอียดประมาณการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างเพื่อนำมาพิจารณา ไม่ว่าจะเป็น ชนิดของวัสดุ ประเภทของการก่อสร้าง ปริมาณวัสดุ รายการของพัสดุ ค่าแรงงาน ซึ่งราคากลางจะถูกจัดทำโดยช่าง หรือวิศวกรของหน่วยงานรัฐ ซึ่งจะมีเอกสารที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของการก่อสร้าง เช่น แบบสรุปค่าก่อสร้าง คือ แบบ ปร.๕ก แบบแสดงรายการปริมาณงานและราคา คือ แบบ ปร.๔ แบบสรุปราคากลางงานก่อสร้างอาคาร คือ แบบ ปร.๖ ซึ่งในแบบก็จะมีการลงนามระบุชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกำหนดราคากลางเอาไว้ พร้อมทั้ง มีรายละเอียดบอกด้วยว่า เป็นราคาที่ประเมินขึ้นเมื่อใด ซึ่ง ผู้รับเหมา ที่สนใจรับงานจะต้องดูในเรื่องของวันเวลาที่ทำการประเมินด้วย เพราะบางครั้งราคาของวัสดุในแต่ละช่วงขึ้นลงไม่เท่ากัน การเสนอราคาจะทำแบบหวังให้ได้งานเสนอให้เป็นไปตามราคากลางเอาไว้ก่อนไม่ได้ เพราะบางครั้งอาจไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของ ผู้รับเหมา ในเวลาปัจจุบัน

อีกเรื่องที่ ผู้รับเหมา ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับราคากลางก็คือ ที่มาของราคากลางนั้น จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการคำนวณที่มาจาก หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันนี้ ผู้รับเหมา สามารถหาข้อมูลและทำความเข้าใจได้ด้วยตัวเอง โดยเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารและดูรายละเอียดได้ที่ www.gprocurement.go.th และที่ www.price.moc.go.th สำหรับราคาวัสดุก่อสร้าง  



ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา

งานสถาปัตยกรรมในงาน รับเหมาก่อสร้าง คืออะไร

งานสถาปัตยกรรมในงาน รับเหมาก่อสร้าง คืออะไร

คำว่า “สถาปัตยกรรม” เวลาที่พูดในในแวดวงคนทั่วไป ที่ไม่ใช่ช่าง ไม่ใช่ ผู้รับเหมา วิศวกร หรือสถาปนิก สิ่งที่คนทั่วไปเข้าใจ เกี่ยวกับคำนี้ อาจจะหมายถึง เรื่องของสิ่งสวยๆ งามๆ ที่เป็นงานในแนวศิลปกรรม เพื่อการตกแต่งประดับประดาเป็นส่วนใหญ่ แต่สิ่งนี้ หากพูดกันในงานการ รับเหมาก่อสร้าง หรืองานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างแล้ว มีความหมายที่แตกต่างออกไป บางทีเวลา ผู้รับเหมา ไปรับงาน จะต้องพยายามอธิบายศัพท์ที่มีความเป็นเฉพาะแบบนี้ให้กับเจ้าของบ้าน ได้รับทราบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและเป็นอย่างถูกต้องชัดเจน


เหตุผลที่ต้องอธิบายในเรื่องนี้ ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันของ ผู้รับเหมา และ เจ้าของบ้าน รวมไปถึงทำให้เจ้าของบ้านเข้าใจในเนื้องาน เวลาหารือกับวิศวกร หรือ สถาปนิก จะได้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในความหมาย เดี๋ยวใครเกิดไปเจอเจ้าของบ้านที่นิยมชมชอบงานศิลปะ จะเข้าใจไปอีกทาง กลายเป็นเรื่องเอาปติมากรรม หรือ ต้องมีงานปูนปั้นมาลงเพิ่มเติมก็เป็นไปได้... นี่เป็นเรื่องของความคาดหวัง ที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนเพราะคำศัพท์ !

งานสถาปัตยกรรม เมื่อใช้ในงานการ รับเหมาก่อสร้าง หรือ งานก่อสร้าง ทั่วไป หมายถึง งานก่อสร้างในส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดความสวยงามเรียบร้อย เป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาอย่างชัดเจน แต่ไม่ใช่แค่เรื่องงานตกแต่ง เป็นงานที่รวมเอาทั้งเรื่องของการตกแต่งและก่อสร้างเข้าไว้ด้วยกัน แต่เป็นส่วนของการทำให้เกิดความสวยงามเรียบร้อย เช่น งานการทำฝ้าเพดาน งานผนัง งานสี งานปูพื้น งานติดตั้งเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ทุกๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นชุดหลอดไฟ การเดินสายไฟ การติดตั้งสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ งานกระเบื้องผนัง งานกระเบื้องปูพื้น ฯลฯ. จะเห็นได้ว่างานในส่วนที่เรียกว่า งานสถาปัตยกรรม ในการทำงานก่อสร้างกินความหมายและเนื้องานค่อนข้างกว้าง ซึ่งถ้าพูดชัดๆ ก็เป็นเรื่องของการทำให้เกิดความเรียบร้อยของงาน และส่วนมาก งานในส่วน งานสถาปัตยกรรมนี้ จะเป็นงานส่วนท้ายๆ ของงาน รับเหมาก่อสร้าง เป็นส่วนใหญ่

สำหรับงานด้านสถาปัตยกรรม ในงานก่อสร้าง จะมีส่วนที่ต้องความสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. ทำแล้วเกิดความสวยงามเรียบร้อย หรือ venvstas

2. มีความมั่นคงแข็งแรง ใช้งานได้อย่างปลอดภัย หรือ firmitas คือ นอกจากดูแล้วสวยยังต้องแข็งแรงและมีความปลอดภัยในการใช้งานอย่างสมบูรณ์ด้วย

3. มีประโยชน์ใช้งานได้จริง หรือ vtilitas ซึ่งจุดนี้ทำให้คำว่า สถาปัตยกรรมของงานก่อสร้าง ไม่เป็นแค่เรื่องความงามในแบบ ทัศนศิลป์เท่านั้น แต่ยังเน้นเรื่องประโยชน์ในการใช้งานจริง

ซึ่งทั้ง 3 ประการนี้ต้องเกิดขึ้นและมีความสมดุลกัน จึงจะถือว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบ

เรื่องนี้อาจจะดูเป็นเพียงคำศัพท์ปลีกย่อยในการทำงาน แต่หากในเวลาที่ ผู้รับเหมา ไปทำงาน รับเหมาก่อสร้าง แล้วเกิดเจ้าของบ้านมีความสงสัย หรือ อาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จะต้องสามารถอธิบายและให้รายละเอียดได้ ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลดีต่อความเข้าใจกันในการทำงาน และยังส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของผู้รับเหมาเองอีกด้วย


ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา  

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เรื่องของ ผนังอิฐโชว์แนว งานก่อสร้างกำลังฮิตที่ ผู้รับเหมา ควรทำความเข้าใจ

เรื่องของ ผนังอิฐโชว์แนว งานก่อสร้างกำลังฮิตที่ ผู้รับเหมา ควรทำความเข้าใจ


หนึ่งในรูปแบบของผนังที่ได้รับความนิยมมากในขณะนี้ ก็คือ ผนังที่ก่ออิฐแล้วไม่มีการฉาบ หรือ ที่ทางช่างเรียกกันว่า ผนังอิฐโชว์แนว หรือ ผนังเปลือย ซึ่งมากับกระแสความนิยมงานก่อสร้างบ้านในแนวดิบๆ แต่เท่ห์ ที่เรียกว่า Loft ซึ่งการทำผนังแบบนี้ให้อารมณ์ของบ้านที่มีความแตกต่างและไม่เหมือนใคร เป็นจุดดึงดูดสายภายในบ้านได้เป็นอย่างดี และแน่นอน เมื่อมีคนที่อยากทำบ้านแบบนี้ ผู้รับเหมา ก็ต้องศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะได้สามารถทำงานแนวนี้ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ... เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ความเข้าใจและทักษะในการก่อสร้างและจัดการผนังแบบนี้มากพอสมควร เพราะหากทำไม่ดี มันอาจเกิดปัญหาตามมาในระดับต้องทุบทิ้งทำใหม่กันเลยทีเดียว !!!

สิ่งที่ ผู้รับเหมา ควรทราบและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกำแพงอิฐโชว์แนวก็คือ... 

1. ผนังอิฐโชว์แนว หรือ ผนังเปลือย เป็นผนังที่ต้องระวังเรื่องความชื้น เนื่องจาก ไม่มีการฉาบปูนและทาสีทับ ดังนั้นความชื้นไม่ว่าจะมาจากภายนอก หรือ จากใต้ดิน จะเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างง่ายดาย ทำให้ภายในบ้านเกิดความชื้น และอาจตามมาด้วยปัญหาเชื้อราและปลวกขึ้นบ้านได้ ในการก่อสร้างจะต้องเลือกใช้ปูนที่เหมาะสมและมีการป้องกันเรื่องความชื้น ซึ่งอาจจะเป็นการใช้สารเคลือบที่มีสีใส ไม่รบกวนการชมดูผิวแท้ของวัสดุ ซึ่งเป็นความต้องการของเจ้าของบ้าน

2. ผนังอิฐโชว์แนว เป็นผนังที่เหมาะจะทำเพียงด้านเดียว ไม่ควรทำทั้งสองด้าน เนื่องจากมันไม่สามารถป้องกันความชื้นและอุณหภูมิได้เหมือนผนังที่ฉาบปูนและทาสีทับ และด้านที่ควรทำเป็นผนังเปลือย หรือ อิฐโชว์แนว ควรเป็นด้านภายในบ้านที่ดูแลได้ง่ายกว่าด้านนอกควรฉาบปูนทาสี หรือ อย่างน้อยก็ควรเป็นผนังปูนเปลือยขัดมันและลงเคลือบ เพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน แต่หากเจ้าของบ้านต้องการ ผนังโชว์แนวด้านนอกด้วย อันนี้ต้องเพิ่มสารป้องกันชนิดพิเศษ และต้องทำหลังคาที่ยื่นยาวออกไปให้มากที่สุด เพื่อทำร่มเงาให้กับผนัง

3. ผนังอิฐโชว์แนว เป็นผนังที่เกิดรอยแตกร้าวได้ง่าย เรื่องนี้สำคัญมากๆ ! และ ผู้รับเหมา จะต้องทำความเข้าใจกับเจ้าของบ้านให้ดี เพราะหากว่าไปทำผนังไว้ใกล้กับบริเวณที่มีแรงสะเทือนบ่อยๆ อย่างเช่น อยู่ใกล้ด้านที่เป็นถนน ผนังอาจเกิดรอยแตกร้าวได้อย่างรวดเร็ว เพราะได้รับแรงสะเทือนจากรถที่วิ่งไปมาเป็นประจำ ซึ่งหากว่าเกิดรอยแตกร้าวขึ้นแล้ว แก้ไขให้คืนสภาพไม่ง่าย ! หากอยากให้สวยเหมือนเดิมอาจจะต้องถึงขนาดทุบทิ้งแล้วก่อใหม่กันเลยทีเดียว !!! ซึ่งนี่เป็นปัญหาที่พบบ่อย ต้องระวังในเรื่องนี้ แต่สมมุติว่าเกิดปัญหาขึ้นไปแล้ว อาจจะเป็นการถูกเรียกไปซ่อมแซมแก้ไข วิธีแก้มี 3 ทางคือ ทุบแล้วก่อใหม่ (แต่หากปัจจัยที่ทำให้เกิดการแตกร้าวไม่ได้รับการแก้ไขป้องกันก็จะเกิดเหตุซ้ำเหมือนเดิม) หรือ เปลี่ยนเป็นผนังแบบฉาบปูนขัดมัน หรือ ที่เรียกว่าปูนเปลือยก็ลดปัญหาได้ระดับหนึ่ง หรือ... เปลี่ยนแนวไปเป็นผนังฉาบปูนทาสี ซึ่งแบบนี้ไม่ต้องกลัวเรื่องรอยแตกร้าวมากนัก เพราะแก้ไขได้ง่าย

เรื่องพวกนี้ เป็นเรื่องที่ ผู้รับเหมา ควรศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องปัญหาเทคนิคในการก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาให้ดี เพื่อที่จะได้สามารถสร้าง ผนังอิฐโชว์แนว ได้อย่างสวยงามและใช้งานได้ยาวนาน ถูกใจลูกค้าที่เป็นเจ้าของบ้าน ซึ่งส่งผลต่อโอกาสในการได้งานมากขึ้นในอนาคตด้วย 

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกรูปแบบหลังคา ผู้รับเหมา ต้องแนะนำเจ้าของบ้าน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกรูปแบบหลังคา ผู้รับเหมา ต้องแนะนำเจ้าของบ้าน


ผู้รับเหมา ที่ต้องทำงาน รับเหมาก่อสร้าง บ้าน ส่วนบุคล โดยทั่วไปแล้วจะทำงานตามแบบที่ได้รับมาจากเจ้าของบ้าน แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้ง ผู้รับเหมา จำเป็นที่จะต้องให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำเจ้าของบ้านในเรื่องรูปแบบของการก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมลงตัวในบ้านที่พักอาศัย เพราะบางครั้งแบบก็ไม่ได้ตอบสนองตรงกับพื้นที่และสภาพแวดล้อมเท่าใดนัก เพราะแบบอาจจะไม่ได้มาจากสถาปนิกที่มาร่างแบบจากหน้างานจริง บางทีเป็นแบบที่ซื้อมา หรือได้มาจากที่อื่น ดังนั้นก่อนลงมือก่อสร้างก็ต้องช่วยดูในเรื่องของความเหมาะสมด้วย และองค์ประกอบหนึ่งที่ ผู้รับเหมา ควรให้คำแนะนำกับเจ้าของบ้านก็คือ... หลังคา

หลังคาบ้าน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากส่วนหนึ่งของบ้านที่อยู่อาศัย นอกจากเป็นส่วนที่ปิดคลุมบ้านกันแดดกันฝนแล้ว ก็ยังมีผลต่อการอยู่อาศัยที่สบาย ไม่ร้อนอบอ้าว ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำฝนตกค้าง และต้องสอดรับกับทิศทางของแสงและลม เพื่อให้บ้านเย็น ตลอดจนถึงเรื่องของการลดใช้พลังงาน ซึ่งเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจในปัจจุบันนี้ หากว่า ผู้รับเหมาก่อสร้าง สามารถให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสมและเกิดผลตามที่บอกกล่าว แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่สามารถสร้างเครดิตความน่าเชื่อถือให้กับตัวผู้รับเหมา เองได้เป็นอย่างดี

รูปแบบของหลังคาบ้านที่เหมาะสม ผู้รับเหมา สามารถพิจารณาได้จาก...

1. ความเหมาะสมในการใช้งานตามสภาพอากาศและภูมิประเทศ เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องของการอยู่สบาย บ้านเราเป็นเมืองร้อน หลังคาที่ดีต้องมีความสามารถในการป้องกันความร้อนได้ดี ซึ่งอาจจะใช้ฉนวนเข้ามาเสริม แต่ที่ดียิ่งไปกว่านั้นก็คือ การออกแบบให้มันตรงตามหลักทิศทางลม และแสงแดด ซึ่งหลังคาที่หันหลบแดด ไม่ปล่อยให้แดดส่องลงมาเต็มพื้นที่สามารถทำได้ เรียกว่าการสร้างหลังคาตามแนวการเคลื่อนของดวงอาทิตย์ การทำแบบนี้ แสงแดดจะส่องเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหลังคาไม่ส่องเต็มพื้นที่ตลอดทั้งวัน ทำให้ความร้อนจากแสงแดดเข้าไปในบ้านลดลง และยังต้องคำนึงถึงทิศทางลมมรสุมในแต่ละฤดู ซึ่งหลังคาจะต้องสามารถปิดป้องน้ำฝนไม่ให้สาดเข้าบ้านในฤดูฝน แต่ต้อนรับลมให้เข้าสู่ตัวบ้านได้ง่ายในแต่ละช่วงของปีด้วย และนอกจากเรื่องการป้องกันความร้อนและน้ำฝนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความสงบเงียบด้วย เพราะหากเป็นหลังคาของบ้านที่อยู่อาศัย หากว่าเกิดเสียงดังในเวลาฝนตก ก็เป็นสิ่งที่รบกวนการอยู่อาศัยด้วยเช่นกัน

2. ความเหมาะสมในเรื่องงบประมาณ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะ ผู้รับเหมา ต้องเป็นหนึ่งในผู้ที่ควบคุมเรื่องค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงบที่กำหนด ดังนั้นไม่ว่าจะมีความรู้และสามารถทำหลังคาได้ดีแค่ไหน ก็ต้องให้อยู่ในงบประมาณ แต่หากว่ามีความเหมาะสมและมีผลดีจริงๆ ในการเปลี่ยน เรื่องนี้ก็สามารถนำเสนอและแนะนำต่อเจ้าของบ้านได้

3. ความเหมาะสมกับตัวบ้าน เรื่องนี้ก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงแค่มีจะต้องเป็นหลังคาที่ออกแบบมาให้สอดรับกลมกลืนกับรูปทรงของบ้านเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันถึงเรื่องของความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้าง ซึ่งโครงสร้างของหลังคาก็ทำจากวัสดุ ไม้ หรือ เหล็ก หากเป็นโครงไม้ก็ต้องเป็นไม้ที่มีคุณภาพ ป้องกันแมลงกินไม้ และทนทานไม่โก่งไม่งอง่าย เพราะส่วนของหลังคาเมื่อทำไปแล้วต้องใช้กันไปอีกนาน ไม่ง่ายในการเปลี่ยนใหม่

เรื่องของหลังคา เป็นอีกเรื่องที่ต้องใส่ใจให้มาก เพราะมีผลต่อความอยู่สบายของผู้อยู่อาศัย และหากเห็นว่าแบบที่ได้มา ดูยังมีความไม่เหมาะสมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กล่าวมา ผู้รับเหมา ก็ควรเสนอแนะความคิดเห็นและอธิบายให้เจ้าของบ้านได้ทราบ ส่วนเขาจะตกลงใจปรับตามหรือไม่ อันนี้ก็อยู่ที่การพิจารณาของเจ้าของบ้าน แต่ก็ถือว่า ผู้รับเหมา ได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว